คลื่นกล
คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวนจากแหล่งกำเนิด ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมีการส่งถ่ายโอนพลังงานแผ่ออกไปด้วย
คลื่นกล (Mechanical Wave )
คลื่นกล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลือนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้ ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง เพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
คำว่าคลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป ในบทนี้จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคลื่นในทางฟิสิกส์
1.1 การแบ่งประเภทของคลื่น
1.1.1 คลื่นตามขวาง (transverse wave) ลักษณะของ อนุภาค ของ ตัวกลาง เคลื่อนที่ ใน ทิศตั้งฉาก กับทิศ การเคลื่อนที่ ของ คลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
คลื่นตามขวาง
1.1.2 คลื่นตามยาว (longitudinal wave) ลักษณะ อนุภาค ของ ตัวกลาง เคลื่อน ที่ ไป มา ใน แนว เดียวกับทิศ การเคลื่อนที่ ของ คลื่น เช่น คลื่นเสียง
คลื่นตามยาว
1.2 ปริมาณที่เกี่ยวกับคลื่น
1. สันคลื่น คือ ตำแหน่งสูงสุดของคลื่น ได้แก่จุด C และ C/ | ||||||||
2. ท้องคลื่น คือ ตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น ได้แก่จุด D และ D/ | ||||||||
3. อัมปลิจูด คือ ระยะจัดสูงสุดของคลื่นวัดจากตำแหน่งสมดุล แทนด้วย A ดังรูป | ||||||||
4. คาบ (Period) คือ ช่วงเวลาในการสั่น 1 รอบของอนุภาค มีหน่วยเป็นวินาที แทนด้วย T | ||||||||
5. ความถี่ (Frequency) คือ จำนวนรอบที่อนุภาคสั่นใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที หรือหรือ เฮิรตซ์ (Hertz , Hz) แทนด้วย โดยที่คาบและความถี่มีความสัมพันธ์ดังนี้ | ||||||||
| ||||||||
6. ความยาวคลื่น (Wavelength) คือ ระยะทางที่คลื่นไปได้ในช่วงเวลาของ 1 คาบ แทนด้วย บางทีความยาวคลื่นคือระยะจากระหว่างจุด 2 จุด ที่อยู่ถัดกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน เช่น จากจุด C ถึง C/ หรือจากจุด D ถึง D/ ลักษณะที่เหมือนกัน เรียกว่า มีเฟสตรงกัน (inphase) | ||||||||
7. อัตราเร็วคลื่นหรืออัตราเร็วเฟส คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ 1 ความยาวคลื่น ในเวลา 1 คาบ (T) มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) โดย | ||||||||
| ||||||||
สำหรับในตัวกลางชนิดเดียวกัน อัตราเร็วคลื่นจะมีค่าคงที่ (v คงที่ )โดย ความยาวคลื่นจะแปรผกผันกับความถี่ นั่นคือ ถ้าความถี่สูง ความยาวคลื่นจะสั้น ส่วนคลื่นที่มีความถี่ต่ำ ความยาวคลื่นจะยาวขึ้น |
1.3 อัตราเร็วของคลื่น
อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้
1. อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน
สมการที่ใช้
1.4 การรวมคลื่น (superposition)
เมื่อคลื่น 2 กระบวนผ่านมา ในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น
(Superposition principle) ซึ่งเสนอโดยท่านดอกเตอร์ โทมัส ยัง ดังรูปล่าง
คลื่น y1 และ y2 รวมกันกันเป็นคลื่นรวม y รูป a) คลื่นทั้งสองเกือบจะอยู่ในเฟสเดียวกัน คลื่นรวมจึงมีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้น
b) คลื่นทั้งสองมีเฟสเกือบจะตรงกันข้ามกัน ( 180 องศา) คลื่นรวมจึงมีแอมพลิจูดลดลงเกือบจะเป็นศูนย์
c) คลื่นทั้งสองที่เกิดจากส้อมเสียง มีเฟสต่างกัน 180 องศา คลื่นรวมจึงมีแอมพลิจูดเป็นศูนย์
คลื่นทั้งสองกระบวน มีลักษณะของคลื่นต่างกันมาก ผลรวมของคลื่น (y1 + y2 ) จึงเป็นคลื่นที่ไม่สม่ำเสมอ
คลื่นน้ำทั้ง 2 กระบวนมีความถี่แตกต่างกัน สังเกตคลื่นรวม
1.5 สมบัติของคลื่น
1. การสะท้อน (Reflection) เป็นคุณสมบัติร่วมระหว่างอนุภาคและคลื่น
2. การหักเห (Refraction) เป็นคุณสมบัติร่วมระหว่างอนุภาคและคลื่น
3. การแทรกสอด (Interference) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
4. การเลี้ยวเบน (Diffraction) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
2. การหักเห (Refraction) เป็นคุณสมบัติร่วมระหว่างอนุภาคและคลื่น
3. การแทรกสอด (Interference) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
4. การเลี้ยวเบน (Diffraction) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
การสะท้อนของคลื่น (Reflection)
เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปสุดเขตของตัวกลาง หรือไปถึงแนวรอยต่อระหว่างตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ไปกับตัวกลางใหม่คลื่นนั้นจะสามารถสะท้อนกลับมาสู่ตัวกลางเดิม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการสะท้อน
เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปสุดเขตของตัวกลาง หรือไปถึงแนวรอยต่อระหว่างตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ไปกับตัวกลางใหม่คลื่นนั้นจะสามารถสะท้อนกลับมาสู่ตัวกลางเดิม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการสะท้อน
การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก
เมื่อทำให้เกิดคลื่นดลในเส้นเชือกเคลื่อนที่ไปตามเส้นเชือก กระทบผิวรอยต่อซึ่งเป็นปลายอิสระ (free end) หรือปลายตรึง (fixed end) คลื่นในเส้นเชือกจะสะท้อนกลับดังรูป
เมื่อทำให้เกิดคลื่นดลในเส้นเชือกเคลื่อนที่ไปตามเส้นเชือก กระทบผิวรอยต่อซึ่งเป็นปลายอิสระ (free end) หรือปลายตรึง (fixed end) คลื่นในเส้นเชือกจะสะท้อนกลับดังรูป
รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายอิสระ
รูปภาพแสดงการสะท้อนของคลื่นแบบปลายตรึง
- การสะท้อนคลื่นในเชือก ปลายอิสระ คลื่นตกกระทบและคลื่น
สะท้อนจะมี เฟสตรงกัน
- การสะท้อนคลื่นในเชือก ปลายตรึง คลื่นตกกระทบและคลื่น
สะท้อนจะมี เฟสตรงข้ามกัน
การหักเหของคลื่น (Refraction)
รูปแสดงการหักเหของคลื่นผิวน้ำ
คือปรากฏการณ์ที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง
มีผลให้เกิดการเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตรงบริเวณผิวรอยต่อของ
ตัวกลางทั้งสอง
โดยที่มีความถี่ของคลื่นคงเดิม แต่อัตราเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป
ในที่นี้เราจะศึกษาคลื่นน้ำ ถ้าหากเราสร้างคลื่นต่อเนื่องที่เป็นคลื่นเส้นตรง
เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณสอง ซึ่งมีความลึกแตกต่างกัน
ข้อสังเกต ในน้ำลึกความเร็ว (v) และความยาวคลื่นจะมากกว่าในน้ำตื้น
การเลี้ยวเบน
รูปแสดงการเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง
คือปรากฏการณ์ที่คลื่นสามารถเคลื่อนผ่านสิ่งกีดขวางแล้วสามารถเคลื่อนที่อ้อมไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางได้ เช่น การเลี้ยวเบนผ่านขอบของสิ่งกีดขวาง หรือ การเลี้ยวเบนผ่านช่องเล็กๆ ที่เรียกว่า Slit
การเลี้ยวเบนเป็นคุณสมบัติเฉพาะของคลื่น
รูปแสดงการเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง
การอธิบายปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนของคลื่น อธิบายโดยใช้หลักของฮอยเกนส์ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ทุก ๆ จุกบนหน้าคลื่นอาจถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดคลื่นใหม่ที่ให้คลื่นความยาวคลื่นเดิมและเฟสเดียวกัน"
เมื่อคลื่นเลี้ยวเบนผ่านช่องแคบมากๆ จะเลี้ยวเบนได้อย่างเด่นชัด(ได้หน้าคลื่นวงกลม)
การเลี้ยวเบนเมื่อช่องกว้างใกล้เคียงกับความยาวคลื่นตกกระทบ
การเลี้ยวเบนเมื่อช่องกว้างมากกว่าความยาวคลื่นตกกระทบ จะเกิดการแทรกสอดหลังเลี้ยวเบน
การเลี้ยวเบนเมื่อช่องกว้างมาก ๆ เมื่อเทียบกับความยาวคลื่น จะไม่เกิดการแทรกสอดหลังเลี้ยวเบน
การแทรกสอดของคลื่น (Interference)
รูปแสดงการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์
คือการรวมกันของคลื่นต่อเนื่องสองขบวน อันเนื่องมาจากคลื่นทั้งสองขบวนเคลื่อนที่ไปพบกัน
- ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบเสริมกัน จะมีค่าแอมพลิจูดมาก เรียกตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพ(Antinode : A)
- ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบเสริมกัน จะมีค่าแอมพลิจูดมาก เรียกตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพ(Antinode : A)
- ตำแหน่งที่เกิดการรวมแบบหักล้างกันจะมีค่าแอมพลิจูดน้อยเกือบเป็นศูนย์ เรียกตำแหน่งนี้ว่า
บัพ(node : N)
ในกรณีที่เกิดการรวมคลื่นระหว่างคลื่นตกกระทบกับคลื่นสะท้อนอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดคลื่นที่มีลักษณะเป็นวงๆ เราเรียกคลื่นนี้ว่า คลื่นนิ่ง (standing wave) ดังภาพ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อสะบัดเส้นเชือกปลายตรึงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดคลื่นกระทบกับจุดตรึง และสะท้อนกลับในทิศทางตรงกัยข้าม ทำให้เกิดการรวมระหว่างคลื่นตกกระทบกับคลื่นสะท้อนอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นคลื่นนิ่งบนเส้นเชือกขึ้น
สุดยอด ครับ
ตอบลบขอบคุณครับบ
ตอบลบเยียมค่ะ
ตอบลบสุดต้นเลยครับ
ตอบลบ