บทที่ 2 เสียง

บทที่ 2 เสียง 

2.1 การเคลื่อนที่ของเสียง 
  โดยสรุป คลื่นเสียง เกิดจากการสั่นของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง พลังงานการสั่นของแหล่งกำเนิดถูกถ่ายโอนให้แก่โมเลกุลของตัวกลางที่อยู่ติดกับต้นกำเนิด และพลังงานถูกส่งต่อกันไปเรื่อยๆ จนถึงหูผู้ฟัง ผลที่เกิดขึ้นคือ คลื่นเสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดโดยมีโมเลกุลของอากาศทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นเสียงนั้น (สำหรับคลื่นเสียงในอากาศ)

เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงสั่น พลังงานของการสั่นจะถูกถ่ายโอนให้แก่โมเลกุลของอากาศที่อยู่รอบๆ โดยการชนระหว่างโมเลกุล เมื่อพิจารณาแนวการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นเสียงกับแนวการสั่นของโมเลกุลของอากาศซึ่งเป็นโมเลกุลของตัวกลางแล้ว จะพบว่าอยู่ในแนวเดียวกัน
ดังนั้น คลื่นเสียงจึงเป็นคลื่นตามยาว


     เมื่อวัตถุแหล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของโมเลกุลอากาศต่อเนื่องสลับกันไป เกิดการถ่ายถอดพลังงานผ่านโมเลกุลอากาศออกไป บริเวณที่อากาศอัดตัว อากาศจะมีความดันสูงกว่าปกติ และบริเวณที่อากาศขยายตัวจะมีความดันต่ำกว่าปกติ


จากรูป 
  • ณ ตำแหน่งที่อากาศอัดตัว จะทำให้  ความดันอากาศสูงสุด โดยโมเลกุลที่ตำแหน่งกึ่งกลางช่วงอัดไม่มีการกระจัด ดังนั้นตำแหน่งนี้ การกระจัดโมเลกุลอากาศเป็นศูนย์
  • ณ ตำแหน่งที่อากาศขยายตัว จะทำให้ ความดันอากาศต่ำสุด โดยโมเลกุลที่ตำแหน่งกึ่งกลางช่วงอัดไม่มีการกระจัด ดังนั้นตำแหน่งนี้ การกระจัดโมเลกุลอากาศเป็นศูนย์ 
  • เมื่อเปรียบเทียบเฟสของกราฟความดันอากาศกับกราฟการกระจัดโมเลกุลอากาศ พบว่ากราฟมีเฟสต่างกัน 90 องศา(โดยเฟสการกระจัดมากกว่า)
  • ระยะจากกลางช่วงอัดถึงอัดที่อยู่ถัดกัน หรือขยายถึงขยายที่อยู่ถัดกันไป จะมีระยะห่างกันเท่ากับ 1 ความยาวคลื่น


2.1 อัตราเร็วของเสียง

     อัตราเร็วของคลื่นเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเคลื่อนที่ได้ในเวลา 1 วินาที

อัตราเร็วของเสียงขึ้นอยู่กับ 
1. ความหนาแน่น ความหนาแน่นมาก อัตราเร็วมาก 
2. ความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นมาก อัตราเร็วมาก 
3. อุณหภูมิ อุณหภูมิสูง อัตราเร็วมาก 

     อัตราเร็วของเสียงในอากาศ :
" สิ่งใดที่ทำให้ความหนาแน่นของอากาศเปลี่ยนแปลง  โดยไม่ทำให้ความดันเปลี่ยน
สิ่งนั้นย่อมเป็นเหตุให้อัตราเร็วของเสียงเปลี่ยน"
อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสามารถมีผลกระทบต่ออัตราเร็วของเสียงได้
ถ้าอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น ณ ความดันคงที่ อากาศย่อม ขยายตัวออกตามกฏของชาร์ล
และจะมีความหนาแน่นลดลงทำให้อัตราเร็วของเสียงเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ
อัตราเร็วของเสียงในอากาศจะแปรผันโดยตรงกับอุณหภูมิ(อุณหภูมิเคลวิน) 
 อัตราเร็วของเสียงในอากาศที่อุณหภูมิ t °C
«math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«msub»«mi»v«/mi»«mi»t«/mi»«/msub»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mn»331«/mn»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»+«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mn»0«/mn»«mo».«/mo»«mn»6«/mn»«mi»t«/mi»«/math»

      เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางแต่ละชนิดด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน อัตราเร็วของเสียงจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและสภาพยืดหยุ่นของตัวกลาง โดยสภาพยืดหยุ่นนี้พิจารณาจากค่า มอดุลัส (modulus) กล่าวคือ อัตราเร็วเสียงจะมีค่ามากขึ้น เมื่อมอดุลัสของตัวกลางมีค่ามากขึ้น แต่อัตราเร็วของเสียงจะมีค่าน้อยลง เมื่อความหนาแน่นของตัวกลางมีค่ามากขึ้น 

2.3 ความถี่ของคลื่นเสียง 
            โดยธรรมชาติของมนุษย์สามารถรับรู้ความถี่เสียงได้ตั้งแต่ 20 Hz – 20 kHz ความสามารถ
ในการรับรู้ในย่านของความถี่นั้นก็จะแตกต่างไปซึ่งในผู้หญิงและชายหนุ่มสามารถได้ยินที่ความ
ถี่สูงสุดที่ 20,000 Hz หรือเรียกย่อ ๆ ว่า 20 kHz 
ส่วนในวัยกลางคนและผู้สูงอายุจะได้ยินลดลง
ไปในย่านความถี่สูงสุด อาจได้สูงสุดที่ 14 kHz
            ความถี่เป็นสิ่งสำคัญทำให้เราสามารถแยกแยะได้ว่าเสียงต่าง ๆ ที่เราได้ยินนั้นคืออะไรและ
เพราะความหลากหลายของความถี่ที่เกิดขึ้นมาของเสียงแต่ละแบบเปรียบได้กับลายนิ้วมือของคนเรา
นั่นเอง ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะของมันเอง มันจึงทำให้เราสามารถแปลได้ว่าเสียงที่ยินคืออะไรนั่นคือ
สาเหตุที่ว่าทำไมเราจึงบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินคืออะไร 
           
            ความเร็วของคลื่นเสียงนั้นเรียกว่าความถี่ (frequency) ส่วนหน่วยวัดค่าความถี่นั้นเรียกว่า 
เฮิรต์ซ (hertz) ใช้อักษรย่อว่า Hz




หากใช้เกณฑ์การได้ยินเสียงของหูมนุษย์ เราก็อาจจำแนกคลื่นเสียงออกได้เป็น 3 จำพวกด้วยกัน คือ
1. คลื่นเสียงที่หูมนุษย์ได้ยิน (Audible waves) ซึ่งโดยปกติแล้วความถี่ของเสียงที่หูมนุษย์ได้ยินนั้นมีค่าตั้งแต่ 20 ถึง 20,000 เฮิรตซ์ อันเป็นเสียงจากเครื่องดนตรี, เสียงพูดคุยของมนุษย์ หรือเสียงจากลำโพง เป็นต้น
2. คลื่นใต้เสียง (Infrasonic waves) เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่าความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน ในธรรมชาติช้างใช้เสียงในระดับ infrasonic นี้ ในการสื่อสารกับช้างตัวอื่นๆ ซึ่งอยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร และแน่นอนครับ มนุษย์เราไม่สามารถได้ยินเสียงของช้าง เมื่อช้างสื่อสารกันด้วยความถี่เสียงระดับนี้
3. คลื่นเหนือเสียง (Ultrasonic waves) เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่าความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่ผลิตคลื่นเสียงความถี่สูงระดับนี้ ได้แก่ นกหวีดไร้เสียงที่ใช้เป่าเรียกสุนัขหรือแมว (silent whistle) ดังรูป
        นอกจากนี้ คลื่นเสียง Ultrasonic ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย อาทิเช่น การใช้หาฝูงปลาของเรือประมง หรือการใช้ในทางการแพทย์เพื่อสร้างภาพของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา ดังรูป
ภาพแสดงทารกในครรภ์ของมารดาอายุ 20 สัปดาห์
          ใน ธรรมชาติ ค้างคาวจัดว่าเป็นสัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียง Ultrasonic ในการดำรงชีพ เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์หากินกลางคืน ค้างคาวจึงแทบจะไม่ใช้ตาในการมอง แต่กลับใช้การปล่อยคลื่นเสียง Ultrasonic และรับเสียงสะท้อนกลับเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุต่างๆในที่มืดแทน ดังรูป

ภาพแสดงการระบุตำแหน่งของวัตถุของค้างคาว

     จะเห็นได้ว่าสัตว์แต่ละชนิด มีขีดจำกัดในการรับฟังเสียงที่แตกต่างกัน ลองเปรียบเทียบจากตารางต่อไปนี้

2.4 ลักษณะทางกายภาพของคลื่นเสียง


1. ความดัง (Loundness) หมายถึง ความรู้สึกได้ยินของมวลมนุษย์ว่าดังมากดังน้อย ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่อาจวัดด้วยเครื่องมือใด ๆ ได้โดยตรง ความดังเพิ่มขึ้นตามความเข้มเสียง ความรู้สึกเกี่ยวกับความดังจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับความเข้มเสียง โดยถ้า I แทนความเข้มเสียง ความดังของเสียงจะแปรผันโดยตรงกับ log I หรืออาจกล่าวได้ว่า ความดังก็คือระดับความเข้มเสียงนั่นเอง หูของคนสามารถรับเสียงที่มีความดังน้อยที่สุดคือ 0 dB และมากที่สุดคือ 120 dB
 2. ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงที่มีความยาวคลื่นและความถี่ต่างกัน โดยเสียงที่มีความถี่สูงจะมีระดับเสียงสูงส่วนเสียงที่มี ีความถี่ต่ำจะมีระดับเสียงต่ำ
3. คุณภาพของเสียง (quality) หมายถึง คุณลักษณ์ของเสียงที่เราได้ยิน เมื่อเราฟังเพลงจากวงดนตรีวงหนึ่งนั้น เครื่องดนตรี ทุกชนิดจะเล่นเพลงเดียวกัน แต่เราสามารถแยกได้ว่า เสียงที่ได้ยินนั้นมาจากดนตรีประเภทใด เช่น มาจากไวโอลิน หรือเปียโน เป็นต้นการที่เราสามารถแยกลักษณะของเสียงได้นั้นเพราะว่าคลื่นเสียงทั้งสองมีคุณภาพของเสียงต่างกัน คุณภาพของเสียงนี้ขึ้นอยู่กับ จำนวนโอเวอร์โทนที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงนั้น ๆ และแสดงออกมาเด่น จึงไพเราะต่างกัน นอกจากนี้คุณภาพของเสียงยังขึ้นกับ ความเข้มของเสียงอีกด้วย

2.5 การเกิดบีตส์ 

การเกิดบีตส์ (Beat)   เป็นปรากฎการณ์จากการแทรกสอดของคลื่นเสียง  2  ขบวน   ที่มีความถี่แตกต่างกันเล็กน้อย  และเคลื่อนที่อยู่ในแนวเดียวกันเกิดการรวมคลื่นเป็นคลื่นเดียวกัน  ทำให้แอมพลิจูดเปลี่ยนไป  เป็นผลทำให้เกิดเสียงดังเสียงค่อยสลับกันไปด้วยความถี่ค่าหนึ่ง


ความถี่ของบีตส์ หมายถึง  เสียงดังเสียงค่อยที่เกิดขึ้นสลับกันในหนึ่งหน่วยเวลา  เช่น ความถี่ ของบีตส์เท่ากับ  7  รอบ/วินาที  หมายความว่าใน  1 วินาที  จะมีเสียงดัง  7  ครั้ง  และเสียงค่อย  7  ครั้ง



สูตรในการคำนวณ  บีตส์

       ความถี่บีตส์   


ตัวอย่าง   ถ้าต้องการให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะ ๆ  ห่างกันทุกครึ่งวินาที  จะต้องเคาะส้อมเสียงซึ่งมีความถี่  500  Hz   พร้อมกับส้อมเสียงที่มีความถี่เท่าไร

วิธีทำ  














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น