พลังงานนิวเคลียร์
ดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ในธรรมชาติ ที่ให้พลังงานแก่โลกของเรา นอกจากนี้มนุษย์ยังสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า และใช้ประโยชน์จากกัมมันตภาพรังสี ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.1 การค้นพบกัมมันตภาพรังสี
เบคเคอเรล (Henri Becquerel) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีในสารประกอบยูเรเนียม เรียกว่า รังสียูเรนิก ในขณะที่ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับรังสีเอกซ์ กัมมันตภาพรังสีมีสมบัติแตกต่างจากรังสีเอกซ์ คือ มีความเข้มน้อยกว่ารังสีเอกซ์ การแผ่รังสีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactive Elements) หมายถึง ธาตุที่มีในธรรมชาติที่แผ่รังสีออกมาได้เอง
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งของสารที่มีสมบัติในการแผ่รังสีออกมาได้เอง กัมมันตภาพรังสี ที่แผ่ออกมามีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ รังสีแอลฟา รังสีเบตา และรังสีแกมมา
โดยเมื่อนำสารกัมมันตรังสีใส่ลงในตะกั่วที่เจาะรูเอาไว้ให้รังสีออกทางช่องทางเดียวไป ผ่านสนามไฟฟ้า พบว่ารังสีหนึ่งจะเบนเข้าหาขั้วบวกคือรังสีเบตา อีกรังสีหนึ่งเบนเข้าหาขั้วลบคือรังสีแอลฟาหรืออนุภาคแอลฟา ส่วนอีกรังสีหนึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงไม่ถูกดูดหรือผลักด้วยอำนาจแม่เหล็กหรืออำนาจนำไฟฟ้า ให้ชื่อรังสีนี้ว่า รังสีแกมมา ดังรูป
โดยเมื่อนำสารกัมมันตรังสีใส่ลงในตะกั่วที่เจาะรูเอาไว้ให้รังสีออกทางช่องทางเดียวไป ผ่านสนามไฟฟ้า พบว่ารังสีหนึ่งจะเบนเข้าหาขั้วบวกคือรังสีเบตา อีกรังสีหนึ่งเบนเข้าหาขั้วลบคือรังสีแอลฟาหรืออนุภาคแอลฟา ส่วนอีกรังสีหนึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงไม่ถูกดูดหรือผลักด้วยอำนาจแม่เหล็กหรืออำนาจนำไฟฟ้า ให้ชื่อรังสีนี้ว่า รังสีแกมมา ดังรูป
การเกิดกัมมันตภาพรังสี
1. เกิดจากนิวเคลียสในภาวะพื้นฐาน รับพลังจำนวนมากทำให้นิวเคลียสกระโดดไปสู่ระดับพลังงานที่สูงขึ้น ก่อนกลับสู่ภาวะพื้นฐานนิวเคลียร์จะคลายพลังงานออกมาในรูป “ โฟตอนที่มีพลังงานสูง “ ย่านความถี่รังสีแกมมา
2. เกิดจากการที่นิวเคลียร์บางอัน อยู่ในสภาพไม่เสถียร คือมีอนุภาคบางอนุภาคมากหรือน้อยเกินไป ลักษณะนี้นิวเคลียร์จะปรับตัว คายอนุภาคเบตาหรือแอลฟาออกมา
2. เกิดจากการที่นิวเคลียร์บางอัน อยู่ในสภาพไม่เสถียร คือมีอนุภาคบางอนุภาคมากหรือน้อยเกินไป ลักษณะนี้นิวเคลียร์จะปรับตัว คายอนุภาคเบตาหรือแอลฟาออกมา
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่ X คือ สัญลักษณ์ธาตุ
Z คือ เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
Z คือ เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
4.2 ไอโซโทป
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน (หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน ) แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน (หรือมีมวลต่างกัน)
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกัน
อะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C, 13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 )
ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้
11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T
4.3 กัมมันตภาพรังสี
เมื่อจำนวนนิวตรอนเพิ่มขึ้น จะทำให้นิวเคลียสไม่เสถียร และเกิดการเสื่อมสลายโดยตัวเอง หรือเกิดกัมมันตภาพรังสี และเรียกไอโซโทปของธาตุที่เกิดกัมมันตภาพรังสีนั้นว่า
ไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioactive isotope)
ในช่วงปี พ.ศ. 2442-2443 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) และปอล วียาร์ (Paul Villard) ได้จำแนกอนุภาคและรังสีที่ได้จากการเกิดกัมมันตภาพรังสีเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะการเบี่ยงเบน เมื่อปล่อยอนุภาคและรังสีให้เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก พบว่าลำของอนุภาคและรังสี เกิดการเบี่ยงเบนออกไปทั้ง 2 ข้าง และบางส่วนำม่เกิดการเบี่ยงเบน จึงสามารถจำแนกอนุภาคและรังสีได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
อนุภาคแอลฟา (alpha particle) อนุภาคบีตา (beta particle) และรังสีแกมมา (gamma ray) โดยลำของอนุภาคแอลฟา และอนุภาคบีตาจะเบี่ยงเบนออกไปจากแนวเดิม แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน แสดงให้เห็นว่าอนุภาคทั้ง 2 มีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน ส่วนรังสีแกมมาไม่มีการเบี่ยงเบน แสดงว่ารังสีแกมมาเป็นกลางทางไฟฟ้า
การสลายให้อนุภาคแอลฟา
(อังกฤษ: Alpha decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีซึ่งนิวเคลียสอะตอมจะปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา ดังนั้นจึงเปลี่ยนสภาพ (หรือ 'สลาย') อะตอมโดยสูญเสียเลขมวล 4 และเลขอะตอม 2 เช่น:
การสลายให้อนุภาคแอลฟาเหมือนกับการสลายให้กลุ่มอนุภาคอื่นๆเป็นกระบวนการ quantum tunneling พื้นฐาน การสลายให้อนุภาคแอลฟาไม่เหมือนกับการสลายให้อนุภาคบีตา การสลายให้อนุภาคแอลฟาถูกควบคุมโดยปฏิกิริยาต่อกันและกันระหว่างแรงนิวเคลียร์และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
การสลายให้อนุภาคแอลฟาเป็นรูปแบบของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีพบในนิวไคลด์ที่มีน้ำหนักมากเท่านั้น ตัวปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาที่เบาที่สุดคือไอโซโทปที่เบาที่สุด (เลขมวล 106–110) ของเทลลูเรียม (ธาตุที่ 52)
เพราะมวลขนาดใหญ่ มีประจุไฟฟ้า +2 และอัตราความเร็วต่ำ เมื่อเทียบกับอนุภาคอื่นๆ อนุภาคแอลฟามักจะมีปฏิกิริยากับอะตอมอื่นๆและสูญเสียพลังงานของมันไป ดังนั้นการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าของมันจะถูกหยุดในสองถึงสามเซนติเมตรของบรรยากาศของโลก
ฮีเลียมส่วนมากบนโลก (ประมาณ 99%) เป็นผลมาจากการสลายให้อนุภาคแอลฟาของแร่ที่ทับถมกันอยู่ใต้ดิน แร่ที่ประกอบไปด้วยยูเรเนียมหรือทอเรียม ฮีเลียมถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกโดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหลือของการผลิตก๊าซธรรมชาติ
การสลายให้อนุภาคบีตา
ในฟิสิกส์นิวเคลียร์, การสลายให้อนุภาคบีตา (อังกฤษ: beta decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่อนุภาคบีตา(อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) ถูกปลดปล่อยออกมา ในกรณีปลดปล่อยอิเล็กตรอน จะเป็น บีตาลบ () ขณะที่ในกรณีปลดปล่อยโพซิตรอนจะเป็นบีตาบวก () พลังงานจลน์ของอนุภาคบีตามีพิสัยสเปกตรัมต่อเนื่องจาก 0 ถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไป (Q) ซึ่งขึ้นกับสภาวะนิวเคลียร์ของต้นกำเนิดและลูกที่เกี่ยวข้องกับการสลาย โดยทั่วไป Q มีค่าประมาณ 1 MeV แต่สามารถมีพิสัยจากสองสาม keV ไปจนถึง สิบ MeV อนุภาคบีตากระตุ้นส่วนใหญ่มีความเร็วสูงมากเป็นซึ่งมีความเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วของแสง
การสลายให้อนุภาคแกมมา
เกิดจากการที่นิวเคลียสมีพลังงานสูงและปรับให้กลับสู่สภาวะพลังงานต่ำด้วยการปล่อยโฟตอนออกมา ซึ่งจำนวนโปรตอนและนิวตอนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการสลายตัว การสลายตัวให้รังสีแกมมาอาจเกิดจาก Isomeric Transition (IT) ที่เมื่อนิวเคลียสอยู่ในสภาวะ excited state เป็นเวลาค่อนข้างนาน หรืออยู่ในสภาวะ metastable state จะปรับตัวให้เสถียรโดยให้รังสีแกมมาออกมาหรือ Internal Conversion electrons ซึ่งตรงข้ามกับการสลายตัวให้รังสีแกมมาที่ปกติจะได้จากสารกัมมันตรังสีที่มีสภาวะ excited state เป็นเวลาค่อนข้างสั้น
metastable state หรือเขียนด้วยตัว "m" จะเป็นสภาวะที่การสลายตัวให้รังสีแกมมานานกว่า 1 ns เช่น 99mTc ดังแสดงในรูป
ผังการสลายตัวของ99m Tc ให้รังสีแกมมา
4.4 ครึ่งชีวิต
ครึ่งชีวิตของธาตุ (half life) หมายถึง ระยะเวลาที่สารสลายตัวไปจนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่เสถียร จะสลายตัวและแผ่รังสีได้เองตลอดเวลาโดยไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหรือความดัน อัตราการสลายตัว เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนอนุภาคในธาตุกัมมันตรังสีนั้น ปริมาณการสลายตัวจะบอกเป็นครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป
ตัวอย่างเช่น C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี หมายความว่า ถ้ามี C-14 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลือ C-14 อยู่ 0.5 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ กล่าวได้ว่าทุกๆ 5730 ปี จะเหลือ C-14เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม
4.5 ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือ กระบวนการที่นิวเคลียสเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบซึ่งเกิดจากการยิงด้วยนิวคลีออน หรือกลุ่มนิวคลีออน หรือรังสีแกมมา แล้วทำให้มีนิวคลีออนเพิ่มเข้าไปในนิวเคลียสหรือออกไปจากนิวเคลียสหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจัดตัวใหม่ภายในนิวเคลียส สามารถเขียนสมการของปฏิกิริยาได้ดังนี้
โดยที่ X เป็นนิวเคลียสที่เป็นเป้า , คืออนุภาคที่วิ่งเข้าชนเป้า , คืออนุภาคที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากการชน และ Y คือนิวเคลียสของธาตุใหม่หลังจากการชน |
เช่น แสดงถึงว่า เป็นนิวเคลียสเป้าหมายที่ถูกยิง เป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ที่เกิดขึ้น คือนิวตรอนเป็นอนุภาคที่ใช้ในการยิง และ เป็นรังสีที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น นิวเคลียร์ฟิชชัน ปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เป็นผลจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุหนัก โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการยิง นิวตรอนไปยังนิวเคลียสของอะตอมหนัก แล้วทำให้นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วนเกือบเท่ากัน ในปฏิกิริยานี้มวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไป กลายเป็นพลังงานออกมา และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งวิ่งเร็วมากพอที่จะไปยิงนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไปทำให้เกิดปฏิริยาต่อเนื่องเรื่อยไป เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) |
ปฏิกิริยาฟิวชัน
ปฏิกิริยาฟิวชัน (Nuclear fusion) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา (พลังงานเกิดขึ้นจากมวลส่วนหนึ่งหายไป) พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล
4.6 การประยุกต์ใช้พลังงานนิวเคลียร์และกัมมันตภาพรังสีด้านการแพทย์
การ นำ รังสี หรือ สารกัมมัน ตรัง สี มา ใช้ ให้ เกิด ประ โยชน์ ใน ทางการ แพทย์ นั้น เป็น ส่วน หนึ่ง ของเทคโนโลยี นิวเคลียร์ ที่ ได้ มี การ คิด ค้น และ ปรับ ปรุง ขึ้น เพื่อ ช่วย ให้ แพทย์ สามารถ ดำ เนิน การวินิจฉัย และ รักษา โรค ได้ อย่าง ถูก ต้อง รวด เร็ว และ ดี ยิ่ง ขึ้น ประ โยชน์ จาก รังสี ใน ทางการ แพทย์ มีหลาย ด้าน ดัง ต่อ ไป นี้
ด้าน การ ตรวจ และ วินิจฉัย โรค (Diagnosis)
ก. การถ่
เพื่อ
ข. การต
โดย
- แกลเลียม
-๖๗ (Gallium-67) ใช้ ตรวจ การ อักเสบ ต่างๆ การ เป็น หนอง เช่น ใน ช่อง ท้อง และ ใช้ ตรวจ หา การ แพร่กระจาย ของ มะเร็ง ใน ต่อม น้ำ เหลือง - คริปทอน
-๘๑ เอ็ม (Krypton-81 m) ใช้ ตรวจ การ ทำ งาน ของ หัว ใจ - เทคนีเชี
ยม -๙๙ เอ็ม (Technetium-99 m) ใช้ ตรวจ การ ทำ งาน ระบบ ต่างๆ เช่น ไท รอยด์ กระดูก สมอง ปอด ตับ ม้าม ไต และ หัว ใจ - อินเดียม
-๑๑๑ (Indium-111) ใช้ ติด ตาม เม็ด เลือด ขาว เพื่อ ตรวจ หา บริเวณ อักเสบ ของ ร่าง กาย ตรวจ การ อุด ตัน ของไข สัน หลัง ตรวจ มะเร็ง เต้า นม รัง ไข่ และ ลำ ไส้ - ไอโอดีน
-๑๓๑ (Iodine-131) ใช้ ตรวจ การ ทำ งาน ของ ต่อม ไท รอยด ์ - ทอง
-๑๙๕ (Gold-195) ใช้ ตรวจ การ ไหล เวียน ของ โลหิต - แทลเลียม
-๒๐๑ (Thallium-201) ใช้ ตรวจ สภาพ หัว ใจ เมื่อ ทำ งาน เต็ม ที่ ตรวจ สภาพ การ ไหล ของ โลหิต เลี้ยง หัว ใจ และ ตรวจ สภาพ กล้าม เนื้อ หัว ใจ
4.7 การวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสี
หน่วยทางรังสี
หน่วย คือ ชื่อเฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้บอกขนาดและปริมาณของสิ่งต่างๆ หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี มีดังต่อไปนี้
ปริมาณรังสีที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
มิลลิซีเวิร์ต (Millisievert: mSv)
เป็นหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ ยกตัวอย่าง เช่น โดยปกติใน 1 ปี แต่ละคนจะได้รับรังสีจากธรรมชาติประมาณ 2.23 มิลลิซีเวิร์ต ดังนี้
เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสี
ไกเกอร์ - มูลเลอร์ (Geiger Muller Counter) ทำงานโดยให้รังสีเข้าไปทำให้แก๊สในเครื่องวัดรังสีแตกตัวเป็นไอออน ซึ่งอัตราการแตกตัวเป็นไอออนที่วัดได้จะแปรผันตรงกับกัมมันตภาพรังสีของธาตุในขณะนั้น
4.8 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (อังกฤษ: Research Reactor) ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (อังกฤษ: Power Reactor) ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Baseload คือผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับกำลังงานที่ต้องการใช้จริง เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการผลิต (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำด้วยแหล่งพลังงานอื่น สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น